ปัจจุบัน…การชักชวนให้ลงทุน “ซื้อขายทองคำในต่างประเทศ” ซึ่งไม่มี กฎหมายไทยรับรอง มีการทำสัญญาในการร่วม ลงทุน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ประกอบกับ การจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ ที่สูงกว่า เงินลงทุน และจะโน้มน้าวให้ลงทุนเพิ่มโดยไม่ยอมให้ ถอนทุนออก ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และต้องเป็นสมาชิกของสมาคมค้าทองคำ เท่านั้น แต่หากการเป็นตัวแทนซื้อขายหรือนายหน้า นั้นมิได้รับอนุญาต ผู้ลงทุนจะมีความเสี่ยงสูงที่จะ ถูกหลอกลวงและสูญเสียเงิน
“มิจฉาชีพ” เหล่านี้ได้พัฒนารูปแบบการดำเนิน ธุรกิจอย่างหลากหลายเพื่อหลบหลีกกฎหมาย กรณี ตัวอย่างที่ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงาน เศรษฐกิจการคลังได้รับการร้องเรียน คือ การชักชวนให้ลงทุน ในรูปแบบการซื้อทองคำออนไลน์ โดยอ้างตนเป็นนายหน้าซื้อ ขายทองคำจากต่างประเทศ มีการโฆษณาว่าจะให้ผลตอบแทน จากการซื้อทองคำและค่าตอบแทนจากการแนะนำสมาชิก ให้มาลงทุนเพิ่ม โดยจะให้ผลตอบแทนถึงเดือนละ 30% ซึ่งมักจะเริ่มลงทุนที่ 1 แสนบาท ทำธุรกรรมผ่านทางบัญชี ธนาคารของต่างประเทศ กลยุทธ์ที่น่าเชื่อถือประกอบกับผลตอบแทนสูงทำให้นักลงทุนหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก
ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจลักษณะนี้เติบโตมากขึ้น คือการพัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลาย และการ จ่ายผลตอบแทนที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุน ในธุรกิจอื่น ประกอบกับความโลภ จึงทำให้ต้องแสวงหา รายได้ การเข้าลงทุนในธุรกิจดังกล่าวจึงเป็นทางออก ในการหารายได้แบบง่ายๆ หากแต่สามารถสร้างความ เสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมเป็นอย่างมาก
ที่มา : บทความ นานาสาระ กับ สพช. ประจำเดือน สิงหาคม ปี 2557
เขียนโดย : ปฐมน แป้นเหลือ(นิติกรปฏิบัติการ), ปภาณิน คัดนางกูล
สำนักงานนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง