ณ วันที่ 13/04/2563
หลายท่านที่ลงทุนซื้อขายทองคำ คงหัวเสียไปตาม ๆ กัน กับการประกาศราคาทองคำ ของสมาคมค้าทองคำ ซึ่งบ้างก็ว่า “กั๊ก” แถมตอนนี้ยังมีการ “ถ่าง” 200 – 300 อีกต่างหาก นักลงทุนบางท่านพยายามหาเหตุผลด้วยตัวเองว่า ที่มีการชี้แจงออกสื่อนั้น เป็นเรื่องจริงหรือไม่ จนได้ข้อสรุปในใจว่า การ “ถ่าง” มันเป็นเรื่องจริงของการค้าทองทั่วโลกซึ่งขณะนี้ที่มีปัญหากระทบจากไวรัสโควิด แต่ไม่เข้าใจว่า ทำไมยังคำนวณราคาทองได้ไม่ตรงกับที่สมาคมประกาศซะที ทางเว็บไซต์ GoldAround.com ก็ได้ไปสืบหาข้อมูลจากแหล่งข่าววงในผู้ค้าทองที่มีการนำเข้าส่งออกจริง ได้ความว่า…
โดยปกติ ราคาทองคำของไทย จะมีการคำนวณ ดังนี้
=======================================================
ราคาทองคำแท่งไทย 96.5% =
[ (gold spot ± premium or discount) x 32.148 x ค่าเงินบาท x 0.965] ÷ 65.6
=======================================================
ประเด็นหลัก มี 2 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา คือ
1.ค่า spread คือ
ช่วงห่างของ ราคารับซื้อ (bid) และ ราคาขาย (ask)
ปกติอยู่ประมาณ 0.30-0.50$ ต่อทองคำ 1 ออนซ์
2.ค่า premium / discount คือ
ค่าใช้จ่ายที่บริษัทผู้นำเข้าทองคำของไทย ต้องจ่ายให้กับบริษัทผู้ค้าทองในต่างประเทศ รวมถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้า-ส่งออกทองคำ
ปกติอยู่ที่ประมาณ ±1-2 ต่อทองคำ 1 ออนซ์
ถามว่า ทำไม ค่า premium / discount ถึงเป็นบวกลบ (±)
เนื่องจากตลาดมีทั้ง ฝั่งซื้อ และ ฝั่งขาย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาทองว่าจะอยู่ในทิศทางใด และ เป็นสภาวะ การนำเข้า หรือ การส่งออก
สำหรับในสภาวะตลาดที่คนส่วนใหญ่ทำการซื้อทองคำ (ช่วงราคาดิ่งลงแรง) ค่า premium จะติดบวก ซึ่งจะเรียกว่า premium (+)
ส่วนในสภาวะที่คนส่วนใหญ่ทำการขายทองคำ (ช่วงราคาดีดตัวขึ้นแรง) ค่า premium จะเป็นลบ ซึ่งจะเรียกว่า discount (-)
ตลาด ขานำเข้า = premium (+) (ปริมาณ ซื้อ ในประเทศ มาก) |
ตลาด ขาส่งออก = discount (-) (ปริมาณ ขาย ในประเทศ มาก) |
ถามว่า บวก หรือ ลบ จากอะไร? ตอบว่า จากราคา gold spot ฝั่ง bid และ ask หรือ ราคาเสนอซื้อ และ ราคาเสนอขาย ที่บริษัทผู้ค้าทองคำในต่างประเทศ เสนอให้ผู้ค้าทองคำในไทย นั่นเอง โดยที่
เมื่อตลาดเป็นฝั่ง ขาส่งออก |
เมื่อตลาดเป็นฝั่ง ขานำเข้า |
ซึ่งในสถานการณ์ปกติแล้ว ค่า premium / discount จะอยู่ที่ประมาณ ±1-3 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ทองคำ 1 ออนซ์ แต่ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ค่า premium / discount ที่บริษัทผู้นำเข้าทองคำของไทย จะต้องจ่ายให้กับบริษัทผู้ค้าทองในต่างประเทศ อยู่ที่ประมาณ -6 ถึง -15 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ทองคำ 1 ออนซ์
ตัวอย่าง ในสถานการณ์ปกติ
สมมุติ bid 1,650.00 และ ask 1,650.30 (ห่างกัน 0.30$)
ตลาด ขาส่งออก discount = ลบ จากราคา bid |
ตลาด ขานำเข้า premium = บวก จากราคา ask |
ตัวอย่าง ในสถานการณ์ COVID-19
สมมุติ bid 1,646.00 ask 1,652.00 (ห่างกัน 6$)
ตลาด ขาส่งออก discount = ลบ |
ตลาด ขานำเข้า premium = บวก |
หมายเหตุ : ช่วงโควิด เป็นตลาดส่งออกโดยส่วนใหญ่ เนื่องจากมีปริมาณขายมากกว่าปกติ
เมื่อนำมาเข้าสูตรการคำนวณราคาทองคำของไทย 96.5%
จากข้อมูลตัวอย่าง ในสถานการณ์ปกติ ตลาด ขาส่งออก (สมมุติ บาท bid 32.62 ask 32.65)
[ (gold spot (bid) – discount) x 32.148 x ค่าเงินบาท (bid) x 0.965] ÷ 65.6 [ 1,648.00 x 32.148 x 32.62 x 0.965] ÷ 65.6 = 25,422จากข้อมูลตัวอย่าง ในสถานการณ์ปกติ ตลาด ขานำเข้า (สมมุติ บาท bid 32.62 ask 32.65)
[ (gold spot (ask) + premium) x 32.148 x ค่าเงินบาท (ask) x 0.965] ÷ 65.6 [ 1,651.30 x 32.148 x 32.65 x 0.965] ÷ 65.6 = 25,496จากข้อมูลตัวอย่าง ในสถานการณ์ COVID-19 ตลาด ขาส่งออก (สมมุติ บาท bid 32.62 ask 32.65)
[ (gold spot (bid) – premium) x 32.148 x ค่าเงินบาท (bid) x 0.965] ÷ 65.6 [ 1,634.00 x 32.148 x 32.62 x 0.965] ÷ 65.6 = 25,205จากข้อมูลตัวอย่าง ในสถานการณ์ COVID-19 ตลาด ขานำเข้า (สมมุติ บาท bid 32.62 ask 32.65)
[ (gold spot (ask) + premium) x 32.148 x ค่าเงินบาท (ask) x 0.965] ÷ 65.6 [ 1,662.00 x 32.148 x 32.65 x 0.965] ÷ 65.6 = 25,662พอเห็นภาพแล้วใช่ไหม? และนี่จึงเป็นสาเหตุให้ ราคาทองคำตามที่สมาคมค้าทองคำประกาศไม่ตรงกับที่คำนวณได้ตามสูตรปกติ เนื่องจากนักลงทุนโดยทั่วไป จะกดสูตรโดยการ บวกค่า premium ±1$ ซึ่งเป็นการคำนวณราคาในช่วงเวลาปกติ แต่ใช้ไม่ได้กับสถานการณ์ COVID-19 ไม่นับรวมค่า spread หรือค่า “ถ่าง” ที่เกิดขึ้นจริงในตลาดโลก ณ ขณะนี้ ซึ่งสมาคมค้าทองคำของไทยก็แก้ปัญหาด้วยการ “ถ่าง” 200-300 สำหรับราคาซื้อขายและขายออกทองคำแท่ง
( ศึกษาเพิ่มเติม : https://www.goldtraders.or.th/ArticleView.aspx?gp=1&id=1144 )
ประเด็นที่สำคัญและทำให้สับสันอีกประการหนึ่ง ก็คือ ราคาทองต่างประเทศ ที่เราเห็นวิ่งบนเว็บไซต์ต่าง ๆ นั้น ในช่วงเวลาปกติ จะไม่ต่างกันเลย ทั้งในกระดาน Forex ในเว็บทองคำต่างประเทศ หรือ ตลาดซื้อขายทองจริง แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาในรอบนี้ เราจะเห็นว่าราคาที่แสดงในแต่ละเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือแพลตฟอร์มเทรด Forex แต่ละค่าย วิ่งกันไปคนละทิศคนละทาง ไม่เท่ากันซักค่าย “แล้วเราจะต้องเลือกใช้อันไหนมาอ้างอิงกับราคาทองไทย”
คำตอบก็คือ “ต้องใช้ราคาจากการซื้อขายทองจริงที่ผู้ค้าทองคำในต่างประเทศ ตกลงซื้อขายกับผู้ค้าทองคำในประเทศไทย” ซึ่งมีการส่งมอบจริง มีต้นทุนต่าง ๆ เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย และต้องถูกบวกลบค่า discount หรือ premium จากบริษัทผู้ค้าทองในต่างประเทศ ในการนำเข้าทองจริง ต่างจากกระดานอิเล็กทรอนิกต่าง ๆ ที่ไม่มีต้นทุนดังกล่าว ยิ่งเกิดสถานการณ์ COVID-19 ต้นทุนเหล่านี้ก็สูงขึ้นกว่าปกติอย่างชัดเจน จากผู้ค้าทองคำในต่างประเทศแต่ละรายซึ่งไม่เท่ากัน การกำหนดราคาซื้อขายทองคำในบ้านเรา เป็นการกำหนดราคาในการซื้อขายทองจริง มีบริษัทนำเข้าส่งออกทองคำ โรงงานผู้ผลิตทองรูปพรรณ ร้านค้าส่งทองคำ ร้านค้าปลีกทองคำจำนวนว่า 6,200 ร้านทองทั่วประเทศ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง จึงต้องคำนวณให้ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรม
จากภาพนี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงราคาทองคำที่บริษัทผู้ขายทองคำ 2 ราย INTL Fcstone (PMXecute) และ ICBC Standard Bank ในต่างประเทศกำหนดราคาซื้อขายในวันและเวลาเดียวกัน (10 เม.ย.63) โหดไหม…
INTL Fcstone |
ICBC Standard Bank |
ภาพแสดงค่า spread หรือ ช่วงห่างระหว่าง ราคารับซื้อ (bid) และ ราคาขาย (ask) ของทองคำในวันที่ 10 เมษายน 2563
นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ยังส่งกระทบต่อการผลิตทองคำและการส่งมอบทองคำของผู้ผลิตในต่างประเทศ ทั้งเรื่องการนำเข้าส่งออกทองคำระหว่างประเทศ เรื่องการลดเที่ยวบินของสายการบินต่าง ๆ และมาตรการการปิดประเทศของประเทศผู้ผลิตบางแห่ง โดยผู้ผลิตทองในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ใกล้พรมแดนอิตาลี และมีคนงาน 2 ใน 3 ของทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี ซึ่งมีการผลิตทองคำราว 1,500 ตันต่อปี หรือเทียบเท่า 1 ใน 3 ของปริมาณการผลิตทั่วโลก ถูกสั่งระงับการผลิตชั่วคราว เพื่อยับยั้งการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สิ่งเหล่านี้ ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ประกอบการค้าทองคำทั่วโลก ในเรื่องของสภาพคล่อง เนื่องจากส่งของไปไม่ได้ ปลายทางก็ไม่จ่ายเงิน เมื่อไม่จ่ายเงิน ก็ไม่มีเงินมารับซื้อทำให้ธุรกิจหยุดชะงักกันไปทั้งโลก
( ศึกษาเพิ่มเติม : https://www.goldtraders.or.th/ArticleView.aspx?gp=1&id=1145 )
ปัจจุบัน (10 เม.ย.63) ผู้ประกอบการค้าทองคำของไทย เริ่มทยอยแก้ไขปัญหาการส่งออก จนสามารถส่งออกได้บ้างบางส่วนแล้ว แต่ไม่ใช่ทั้งหมด โดยยังคงติดขัดปัญหา เมื่อส่งทองคำออกไปแล้ว จะต้องรอเงินอีก 7 วันทำการ (จากปกติไม่เกิน 1-2 วัน) ซึ่งบริษัทผู้ค้าทองคำในต่างประเทศจะชำระเพียง 80% เท่านั้น อีก 20% ที่เหลือ จะชำระหลังจากรีไฟน์เสร็จ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 7 วัน รวมแล้วใช้เวลาอีก 14 วัน ถึงจะได้เงินทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ค้าทองคำ ส่งทองคำออกไป 100 กิโลกรัม เป็นเงิน 176,000,000 บาท จะได้เงิน 140,800,000 บาท ใน 7 วันข้างหน้า และจะได้ส่วนที่เหลือ 35,200,000 บาท ในอีก 14 วันข้างหน้า
————————————————————-
จะเห็นว่าปัญหาเรื่องสภาพคล่องยังคงมีอยู่ แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าในช่วงแรกของสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งไม่สามารถส่งออกได้เลย อย่างไรก็ขอให้วิกฤตินี้ผ่านพ้นไปโดยเร็ววัน และหากนักลงทุนมองว่าในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ การซื้อขายทองทำได้ยากลำบาก ก็ควรชะลอการซื้อขาย และกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ
————————————————————-
ที่มา : www.goldaround.com