ณ วันที่ 29/05/2558
เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับทองคำ ที่หลายๆท่านอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อน เรามาดูกันว่าเรื่องจริงต่างๆที่เกี่ยวกับทองคำ จะมีอะไรกันบ้าง
หากนำทองที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดมารวมกัน แล้วดึงให้กลายเป็นลวดที่มีความหนา 5 ไมครอน ก็อาจจะสามารถนำมาพันรอบโลกได้ถึง 11,200,000 ครั้งเลยทีเดียว
เชื่อหรือไม่ว่า อุณหภูมิที่เป็นจุดเดือดของทองนั้นสูงถึง 2,808 องศาเซลเซียส
ทองคำ 1 ทรอยออนซ์ จะมีน้ำหนักเพียง 31.103 กรัม เท่านั้นเอง
การที่จะหาทองคำก้อนที่มีน้ำหนัก 1 ออนซ์ นั้นเป็นเรื่องที่ยากมากกว่าการหาเพชร 5 กะรัตเสียอีก
อุณหภูมิของร่างกายมีค่าเท่ากับ 37 องศาเซลเซียส การเป็นตัวนำความร้อนที่ดีมากของทองคำทำให้ทองคำปรับอุณหภูมิให้เท่ากับร่างกายของเราได้อย่างรวดเร็วมาก มันจึงเป็นเหตุผลอันหนึ่งที่ทำให้ทองเป็นอัญมณีที่มีราคามาก
ต้องใช้ความร้อนสูงถึง 1,064 องศาเซลเซียส ทองคำถึงจะละลาย
นับตั้งแต่เริ่มต้นของความเจริญเติบโตทางอารยธรรมของมนุษยชาติทองคำถูกขุดขึ้นมายังไม่ถึง 175,000 ตันเลย
ในระหว่างการขุดหินเพื่อจะสร้างบ้านอยู่นั้นคนงานเหมืองชาวออสเตรเลียชื่อนาย จอร์จแฮร์ริสัน ได้ขุดพบแร่ทองคำที่อยู่ใกล้กับกรุงโจฮานเนสเบิร์ก ในปี 1885 ซึ่งทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ การตื่นทองในแอฟริกาใต้
เมื่อรวมทองคำทั้งหมดที่เคยขุดพบในเหมือง จะพอดีกับลังที่มีขนาด 21 ลูกบาศก์เมตร
ประมาณครึ่งหนึ่ง (49%) ของทองคำที่ขุดได้ทั้งหมดในวันนึง จะถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับซึ่งยังคงเป็นงานอุตสาหกรรมเดียวใช้ทองคำมาก
นักแสวงทองคำราวๆ 40,000 คนที่ได้เข้ามาเสาะหาทองคำในช่วงของการตื่นทองที่คลิฟอร์เนียในปี 1849 พวกเขาถูกเรียกว่า “49ers” (forty-niners) แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีฐานะร่ำรวยมากขึ้นจากเดิม
จูเลียส ซีซ่าร์ มอบเหรียญทองคำ 200 เหรียญให้แก่ทหารของเขาจากการทำสงครามชนะพวก “กอล” (เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส)
ตั้งแต่ที่มียุคการตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียเกิดขึ้น ก็ได้มีการขุดทองคำขึ้นมามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก
เพื่อทำให้ทองคำเปลี่ยนสีและเพิ่มความแข็งแรงให้กับทอง จึงต้องนำไปผสมกับโลหะอื่นๆ ซึ่งทองคำ 18 กะรัตจะประกอบด้วยทองคำบริสุทธิ์ 750 ส่วนต่อ 1,000 (หรือทองคำ 75 เปอร์เซ็นต์ นั่นเอง)
เหรียญทองคำที่ใหญ่ที่สุด ที่ถูกสร้างขึ้นโดย นายเพิร์ธมิ้นท์เมื่อปี 2012 มีน้ำหนัก 1 ตัน และวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 80 เซนติเมตร สามารถทำลายสถิติเดิมเมื่อปี 2007 ซึ่งเป็นเหรียญราคา 1,000,000 ดอลล่าร์แคนนาดา ที่มีขนาดเพียง 53 ซม.เท่านั้น
ทองคำน้ำหนัก 1 ออนซ์สามารถยืดได้ยาวถึง50 ไมล์ ซึ่งลวดทองคำจะมีขนาดความกว้างเพียง 5 ไมครอนเท่านั้น
ทองคำก้อนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยขุดพบขึ้นมา ชั่งน้ำหนักได้ประมาณ 2316 ทรอยออนซ์ (ประมาณ 72 กิโลกรัม) ซึ่งขุดพบได้ที่เมืองมอเลียกัลในประเทศออสเตรเลียเมื่อปี 1869 ซึ่งมันถูกเรียกว่า “Welcome Stranger”(ยินดีต้อนรับคนแปลกหน้า)
เลขอะตอมของทองคำคือ 79 ซึ่งหมายความว่ามี 79 โปรตอนในนิวเคลียสของทุกๆอะตอมของทองคำ
ที่ “London Good Delivery Bar”หน่วยมาตรฐานทองคำที่ใช้ทำการซื้อขายนั่นคือ ทองคำน้ำหนัก400 ทรอยออนซ์ (12.4 กิโลกรัมหรือ 438.9 ออนซ์) ถือได้ว่าเป็นทองคำแท่งที่มีคุณภาพดีที่สุดในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ที่ธนาคารกลางสหรัฐถือครองทองคำอยู่ราวๆ 530,000 แท่ง หรือประมาณ 6,700 ตัน ซึ่งเมื่อปี 1973 จำนวนสูงสุดของทองคําที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเงินสํารองระหว่างประเทศที่เฟดเก็บไว้นั้นมีมากกว่า 12,000 ตันเลยทีเดียว
ทองคำทั้งหมด147,300,000 ออนซ์ หรือประมาณ4,600 ตัน คือทองคำที่ถูกเก็บไว้อยู่ในศูนย์รับฝากทองแท่งที่เมืองฟอร์ตน็อกซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ถึงแม้ว่าปริมาณทองในน้ำทะเลทั่วทั้งโลกขนาด 10 ส่วนในน้ำทะเล 1พันล้านล้านส่วน เป็นที่คาดกันว่าในทะเลจะมีทองคำอยู่มากถึง 15,000 ตัน
เมื่อนำทองคำบริสุทธิ์น้ำหนัก 1 ออนซ์ มาตีให้เป็นแผ่นบางๆ จะมีความกว้างได้ถึง 9 ตารางเมตร
ที่มาและขอบคุณภาพจาก : สมาพันธ์ทองคำโลก (World Gold Council) www.gold.org
แปลและเรียบเรียงโดย : พลวัตร สารวิทย์ สมาคมค้าทองคำ