เอ็กซ์เรย์ตลาดค้าทองคำในประเทศเวียดนาม

ณ วันที่ 29/03/2559

 

    ในปีนี้เรื่องของการเปิดประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศในกลุ่มเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ คือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า และไทย ได้ถูกจับตามากเรื่องหนึ่ง เพราะจะมีผลตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป และคาดว่าการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายภาคส่วน

    หากจะย้อนไปดูถึงเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ “การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง”

    การเป็นประชาคมอาเซียน คือ การทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

    ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก (Pillar) คือ ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม วัฒนธรรมอาเซียน

    แต่เสาหลักเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ Asean Economic Community หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อ AEC ดูเหมือนจะได้รับความสนใจมากที่สุด ทั้งนี้ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นตลาดใหญ่ของการค้าทองคำ เพราะวิถีชีวิตของผู้คนจะมีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกับทองคำค่อนข้างมาก แต่ลักษณะการค้าขายทองคำ ลักษณะการใช้ของประชาชนในแต่ละประเทศ จะเป็นอย่างไรต้องคอยติดตามกันต่อไป

    ขอพาไปทำความรู้จักกับตลาดทองคำแท่ง และทองคำรูปพรรณในประเทศเวียดนาม (Vietnam) ซึ่งถือว่าเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ เพราะเวียดนามมีประชากรมากถึง 90 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 14 ของโลก และมีปริมาณน้ำมันสำรอง เป็นอันดับสองในเอเชียแปซิฟิก ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุด เป็นรองแค่ประเทศกัมพูชา แต่รายได้ของประชากรได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามเศรษฐกิจที่เติบโตเร็ว

    จากการลงทุนของต่างชาติ ส่วนสกุลเงินของเวียดนาม ใช้หน่วยของ เงินตราเป็น “ด่ง” ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 550 ด่ง ต่อ 1 บาทไทย หรือ 16,000 ด่ง ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการผลิตทองคำของประเทศเวียดนาม มีขนาดประมาณ 3,000 กิโลกรัมต่อปี โดยตลาดทองคำในประเทศเวียดนามมีจำหน่ายทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณ ซึ่งทองคำที่ใช้เป็นทองคำ

    8K ถึง 24K (8K = 33.33%, 9K= 37.50%, 10K = 41.66%, 11K = 45.83%, 12K = 50.00%, 13K = 54.16%, 14K = 58.33%, 15K = 62.50%, 16K = 66.66%, 17K = 70.83%, 18K = 75.00%, 19K = 79.16%, 20K = 83.33%, 21K = 87.50%, 22K = 91.66%, 23K = 95.83%, 24K = 100% หรือ 99.99%)

    สำหรับการซื้อขายทองคำในตลาดเวียดนาม โดยส่วนมากจะค้าขายทองคำ 99.99% 99.9% 99% และ 98% ส่วนทองคำที่ใช้เป็นเครื่องประดับนิยมทองคำ 18K = 75.00% ขณะที่ทองรูปพรรณที่เป็นที่นิยมซื้อหากันจะเป็นประเภท แหวน สร้อยคอ กำไล และสร้อยข้อมือ (ตัวอย่างดังรูปภาพ www.btmc.vn/san-pham/trang-suc-vang-ta-1141.htm)

    ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดของธนาคารส่วนกลางของประเทศเวียดนาม มีเพียงบริษัท SJC (Saigon Jewelry Company Limited) และโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งชาติเท่านั้น ที่มีสิทธิ์ผลิตทองคำแท่ง โดยบริษัท SJC มีส่วนแบ่งตลาดทองคำแท่งในประเทศถึง 90% ในปี 2011 มีมูลค่าการประกอบการถึง 5,280 ล้าน USD

    ธนาคารส่วนกลางของประเทศเวียดนาม กำหนดให้บริษัท และธนาคารทั้งหมด 38 หน่วยงานที่มีสิทธิ์ซื้อขายทองคำแท่ง ได้แก่ 1. ธนาคาร ACB 2. ธนาคาร VietinBank 3. ธนาคาร BIDV 4. ธนาคาร Agribank 5. ธนาคาร DongABank 6. ธนาคาร MaritimeBank 7. ธนาคาร Techcombank 8. ธนาคาร NamABank 9. ธนาคาร HDBank 10. ธนาคาร OCB 11. ธนาคาร SouthernBank 12. ธนาคาร Sacombank 13. ธนาคาร SCB 14. ธนาคาร TienPhongBank 15. ธนาคาร VietABank 16. ธนาคาร VPBank 17. ธนาคาร Eximbank 18. ธนาคาร SeABank 19. ธนาคาร MB 20. ธนาคาร SHB 21. ธนาคาร MHB 22. ธนาคาร Ocean Bank 23. บริษัท Vàng b?c ?á quý TPHCM – Agribank 24. บริษัท Vàng Agribank Vi?t Nam 25. บริษัท B?o Tín Minh Châu 26. บริษัท Vàng b?c ?á quý DOJI 27. บริษัท ??u t? và Kinh doanh Vàng Vi?t Nam 28. บริษัท Kim Ng?c Phú 29. บริษัท Mi H?ng 30. บริษัท Vàng b?c ?á quý Ng?c H?i 31. บริษัท Vàng b?c ?á quý Ng?c Thâm 32. บริษัท Vàng b?c ?á quý Phú Nhu?n-PNJ 33. บริษัท Vàng b?c Phúc Thành 34. บริษัท Vàng b?c ?á quý Ph??ng Nam 35. บริษัท Vàng b?c ?á quý Sacombank 36. บริษัท Vàng b?c ?á quý Sài Gòn-SJC 37. บริษัท ??u t? Vàng Phú Quý 38. บริษัท Vàng b?c ?á quý VietinBank ทั้งนี้ผู้ขายที่ไม่ได้รับสิทธิ์จะถูกปรับเงิน หรือลงโทษ

    สำหรับร้านขายทองของเอกชนมีเป็นจำนวนมาก สามารถซื้อขายทองรูปพรรณ และเครื่องประดับ แต่ไม่มีสิทธิ์ซื้อขายทองคำแท่ง ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ ไฮฝ่อง และ ดานัง เช่น บริษัท SJC มี 14 สาขา 125 ร้านขายทองคำ 43 ตัวแทนจำหน่าย ใน 22 จังหวัด และร้านขายปลีกอีก 3,000 แห่ง (ลิงค์เครือข่าย SJC www3.sjc.com.vn/?job=4&id=106&n=0) นอกจากนั้นยังมี บริษัทจำ หน่ายทองคำราย ใหญ่ที่มีเครือข่ายร้านค้าเป็นจำนวนมาก คือ PNJ DOJI และ BAO TIN MINH CHAU

ขอขอบพระคุณ นายปัญญรักษ์ พูลทรัพย์ เอกอัครราชทูต และ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจการค้า สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดหาข้อมูลสำหรับบทความนี้เป็นอย่างดี

ที่มา : Gold AEC วารสารทองคำ ฉบับที่ 44 เดือน มีนาคม – เมษายน 2558