ณ วันที่ 18/07/2555
“ทองคำ”สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง
หากจะพูดถึงการลงทุนในทองคำแล้วนั้น นักลงทุนหลายท่านนิยมลงทุนในทองคำ เนื่องจากเห็นว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Hedging) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Hedging) การตกต่ำของภาวะเศรษฐกิจ (Economic Crisis) และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (Political Risk) ซึ่งในวันนี้เราจะมาดูข้อมูลที่จะช่วยยืนยันว่า “การลงทุนในทองคำ สามารถป้องกันความเสี่ยงและลดผลขาดทุนจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง และสงครามได้”
จากการศึกษาของ World Gold Council (WGC) ในบทความเรื่อง Gold : hedging against tail risk ซึ่งนำมาลงไว้ใน Website ของ SPDRGOLDSHARE (www.spdrgoldshares.com) พบว่า การถือครองทองคำในพอร์ตการลงทุนจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน และลดความเสี่ยงในการขาดทุนลงได้ ซึ่งหากจัดสรรการลงทุนทองคำในระดับต่ำระหว่าง 2.5% และ 9.0% จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ 1% และ 2% ตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงปี 1987-2010 ที่มีวิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจเกิดขึ้นหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น “Black Monday” ในช่วงเดือน ต.ค. ปี 1987, “วิกฤตการณ์ บริหารเงินทุนระยะยาว (Long-term Capital Management : LTCM)” ช่วง ก.ค. ปี 1998, “Dot Com Crisis” มี.ค. ปี 2000, “Nine One One” ส.ค. ปี 2001, “ตลาดหุ้นตกต่ำ” ช่วง มี.ค. ปี 2002 (’02 Downturn) และ “วิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจ (Great Recession)” ช่วงปี 2007– 2009 ซึ่งในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว ก่อให้เกิดภาวะตกต่ำของ ตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก แต่สำหรับผู้ที่ถือครองทองคำ ในพอร์ตการลงทุน สามารถช่วยลดผลขาดทุน อีกทั้งยัง เพิ่มกำไรให้กับนักลงทุนได้ โดยแสดงในตาราง
เปรียบเทียบการลงทุนของพอร์ตการลงทุนที่ไม่ลงทุนในทองคำกับพอร์ตการลงทุนที่ลงทุนในทองคำในช่วงวิกฤตการณ์ตั้งแต่ปี 1987-2010
w/o gold
|
with gold
|
Diff. in USD (‘000)
|
Diff. in %
|
|
Black Monday (Aug’87-Dec’87)
|
-1,046
|
-868
|
178
|
17
|
LTCM Crisis (Jul’98-Aug’98)
|
-1,258
|
-1,222
|
36
|
3
|
Dot-Com Bubble (Mar’00-Apr’01)
|
-1,420
|
-1,506
|
-86
|
-6
|
9/11 (Aug’01-Sep’01)
|
-1,174
|
-1,083
|
91
|
8
|
02 downturn (Mar’02-Jul’02)
|
-534
|
-463
|
71
|
13
|
Great Recession (Oct’07-Mar’09)
|
-4,049
|
-3,719
|
330
|
8
|
Gold Weight
|
–
|
6%
|
|
|
Annualized return(%)
|
8.1
|
8
|
|
|
1 Correlation estimation using all weekly return from Jan’87 to Jul’10
** Portfolio selection based on allocation that resembled benchmark portfolio
of 55% equities, 40% fixed income, and 5% alternative assets.
Source : World Gold Council (WGC), LBMA, JP Morgan, Barclays Capital, MSCI Barra, Standard & Poor’s
จากตารางแสดงผลกำไร (ขาดทุน) จากพอร์ตการลงทุนที่ มีมูลค่า 10 ล้าน USD โดยจัดสรรการลงทุนในหลักทรัพย์ ประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์อื่น ๆ จาก พอร์ตการลงทุนมาตรฐาน (Benchmark Portfolio) ซึ่งเป็น พอร์ตการลงทุนที่ลงทุนในหุ้นประมาณ 50%-60% ลงทุนใน หลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้ประมาณ 30%-40% และลงทุนใน สินทรัพย์อื่น ๆ อีกประมาณ 5%-10% ซึ่งหากพิจารณาจาก ตารางที่ 1 นั้น จะพบว่า พอร์ตการลงทุนที่ลงทุนในทองคำใน อัตราส่วน 3%-6% จะมีผลกำไรมากกว่าหรือขาดทุนน้อยกว่า พอร์ตการลงทุนที่ไม่ได้ลงทุนในทองคำ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง วิกฤตการณ์ “Black Monday” พอร์ตการลงทุนที่ลงทุน ในทองคำ 3%-6% ให้ผลตอบแทนมากกว่าพอร์ตการลงทุน ที่ไม่ลงทุนในทองคำประมาณ 23,000-178,000 USD ส่วน ในช่วง “Great Recession” ก็ให้ผลตอบแทนมากกว่า ประมาณ 132,000–330,000 USD มีแต่เพียงเฉพาะในช่วง “Dot-Com Bubble” ที่พอร์ตการลงทุนที่ลงทุนในทองคำ ให้ ผลขาดทุนมากกว่าประมาณ 32,000–86,000 USD
แม้ว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ตการลงทุนที่ไม่ลงทุน ในทองคำกับพอร์ตการลงทุนที่ลงทุนในทองคำจากการลงทุน ในระยะยาวจะให้ผลเหมือนกัน คือ ผลตอบแทนเฉลี่ยค่อนข้าง คงที่ แต่พอร์ตการลงทุนที่ลงทุนในทองคำช่วยป้องกันความเสี่ยง ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นหรือขาดทุนลดลงจากกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ และถ้าย้อนกลับไปในอดีตที่นานกว่านี้ อย่างในช่วงการ ตกต่ำทางเศรษฐกิจต้นยุค 70 (Early’70 Recession), สงคราม ระหว่างอิหร่าน-อิรัก ในช่วงปี 1980 (Iran-Iraq War), การ ตกต่ำทางเศรษฐกิจในยุคปี 1980 และล่าสุดวิกฤตการณ์หนี้ ของยุโรปในปี 2009-2010 (European sovereign debt crisis) จะพบว่า การลงทุนในทองคำช่วยลดผลขาดทุนและเพิ่มกำไร ให้กับพอร์ตการลงทุนได้ในหลายเหตุการณ์ โดยในช่วงการ ตกต่ำทางเศรษฐกิจในต้นยุค 70 พอร์ตการลงทุนที่ลงทุนใน ทองคำ 3%-6% ให้ผลตอบแทนมากกว่าพอร์ตการลงทุน ที่ไม่ลงทุนในทองคำประมาณ 705,000-1,363,000 USD และใน ช่วงวิกฤตการณ์หนี้ของยุโรปในปี 2009-2010 ให้ผลตอบแทน มากกว่าประมาณ 19,000-81,000 USD
ดังนั้น การมีทองคำไว้ในพอร์ตการลงทุน ย่อมถือเป็น การป้องกันความเสี่ยงที่ดี เพราะไม่เพียงแต่ช่วยลดผลขาดทุน เท่านั้น หากแต่ยังสามารถเพิ่มผลกำไรในช่วงวิกฤตการณ์ได้ อีกด้วย ฉะนั้น ไม่ว่านักลงทุนจะเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงิน และเศรษฐกิจอีกกี่ครั้ง การมีทองคำอยู่ในพอร์ตก็เท่ากับเป็น การเพิ่มโอกาสในการลงทุนได้ดีทีเดียว ซึ่งในขณะนี้ก็เป็น จังหวะที่ดีที่เหมาะสมในการเข้ามาซื้อทองคำสะสมไว้ เพื่อลด ความเสี่ยงจากวิกฤติทางเศรษฐกิจทั้งทางฝั่งยุโรป และอเมริกา เช่นกัน แต่นักลงทุนทุกท่านต้องอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะลงทุนใน ทองคำประเภทใดก็ตาม การศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ลงทุนย่อมเป็นสิ่งสำคัญ
ที่มา : คอลัมน์ “GOLD FUTURES” โดย บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด
วารสารทองคำ ฉบับที่ 35 โดยสมาคมค้าทองคำ